EIT Image QR Code โลโก้หน่วยงาน
eit link image
อบต.โคกสะบ้า
eit main image



อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่
24 กันยายน 2567

442


อำนาจหน้าที่และภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้า มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายสำคัญ 2 ฉบับ คือ
1. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
           
          มาตรา 43 องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
           
          มาตรา 44 องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
           
          
หมวดที่ 2
ส่วนที่ 1
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
           
          มาตรา 45 ภายใต้บังคับมาตรา 45/1 สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
           
          
มาตรา 46 สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

           
          (1)ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล
(2)พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(3)ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายนโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับทางราชการ
           
          
ส่วนที่ 2
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
           
          มาตรา 58 ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
          มาตรา 59 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
           
          (1)กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
(2)สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล
(3)แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
(4)วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5)รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
(6)ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
           
          
ส่วนที่ 3
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

           
          มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
           
          มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
           
          (1)จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(1/1) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลรักษาการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
(2)รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(4)ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5)จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(6)ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(7)คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8)บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9)ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
           
          มาตรา 68 ภายใต้ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
           
          (1)ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
(2)ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(3)ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(4)ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
(5)ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
(6)ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(7)บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
(8)การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
(9)หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
(10)ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
(11)กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
(12)การท่องเที่ยว
(13)การผังเมือง
           
          
มาตรา 69/1 การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

 

          2. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
           
           
          
หมวด 2
การกำหนดอำนาจหน้าที่และหน้าที่ในการจัดระบบบริหารสาธารณะ

           
          มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
           
          (1)การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2)การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำและทางระบายน้ำ
(3)การจัดให้มีและควบคุมตลาดท่าเทียบเรือท่าข้ามและที่จอดรถ
(4)การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
(5)การสาธารณูปการ
(6)การส่งเสริมการฝึกและประกอบอาชีพ
(7)การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน
(8)การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9)การจัดการศึกษา
(10)การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(11)การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(12)การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13)การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14)การส่งเสริมกีฬา
(15)การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16)การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17)การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18)การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(19)การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20)การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21)การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22)การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(23)การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ
(24)การจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(25)การผังเมือง
(26)การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(27)การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28)การควบคุมอาคาร
(29)การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30)การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(31)กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
 

เอกสารแนบ